ลางบอกเหตุตามความเชื่อโบราณ

เรื่องทั่วๆไปในทางไม่ดี

>ห้ามใส่ชุดดำเยี่ยมคนป่วย
ชุดสีดำเป็นสีที่คนโบราณถือนักถือหนาว่า เป็นสีแห่งความทุกข์โศก ใช้ใส่เฉพาะงานศพเท่านั้น หรือหากจะใช้แต่งกายสีดำ ก็ไม่ควรเป็นสีดำทั้งชุด ควรเป็นครึ่งท่องใส่ผสมกับสีอื่นๆ ชุดสีดำ จึงไม่นิยมใส่เข้าไปในงานมงคลต่างๆ เช่นงานวันเกิด งานแต่งงาน หรือแม้กระทั่งไป เยี่ยมผู้ป่วยก็เหมือนกัน เท่ากับว่า เป็นการแช่งหรือ เดาเหตุการณ์ล่วงหน้าให้ผู้ป่วยนั้นตายเร็วขึ้น ทำให้จิตใจผู้ป่วยหดหู่และหมด กำลังใจ เกิดอาการทรุดลงได้ง่ายจึงไม่ให้ใช้สีดำ ควรเป็นสีที่สดใสและแสดง ใบหน้าที่สดชื่นอีกด้วย
>จิ้งจกร้องทัก ห้ามออกจากบ้าน
จิ้งจกในปัจจุบันหาพบได้ง่ายกว่าตุ๊กแก มักจะเกาะอยู่ตามฝาผนัง ของบ้าน โดยปกติทั่วๆ ไป เรามักจะไม่ค่อยได้ยินเสียงจิ้งจกร้องมากนัก จะ เป็นเพราะมีจำนวนน้อย หรือบางบ้านไม่มีให้เห็นเสียแล้ว หรือไม่ค่อยมีเวลาอยู่ บ้านมากนัก จึงไม่ได้ยินเสียงของมัน ตามคำเชื่อของคนโบราณกล่าวว่า หากจิ้งจกร้อทัก จะกี่ครั้งก็ตาม ทว่าเสียงนั้นอยู่ด้านหลังหรือตรงศรีษะของคุณ ให้พยายามเลื่อนการเดินทาง เป็นเวลาอืน อาจจะเป็นภายในวันเดียวกันก็ได้ แต่ไม่ใช่เวลานั้น เพราะอาจทำให้ คุณได้รับอุบัติเหตุหรือไม่มีโชคลาภ แต่หากเสียงร้องทักอยู่ด้านหน้า หรือซ้าย มือ ให้เดินทางได้ จะทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างสะดวกสบาย จะได้พบโชค ลาภ หรือติดต่อธุรกิจเป็นผลสำเร็จ

>ตุ๊กแกร้องกลางวัน มีเหตุร้าย
ตามปกติแล้วตุ๊กแกที่อาศัยอยู่ในบ้าน มักจะร้องตอนกลางคืน แต่ ถ้าวันดีคืนดีเกิดร้องลางวันขึ้นมาไม่ว่าจะร้องกี่ครั้งก็ตาม ให้ถือว่า เป็นการ บอกเหตุร้ายว่า กำลังจะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว หรือภายในบ้าน ซึ่งโดย ปกติแล้วตุ๊กแกจะไม่ค่อยร้องในช่วยกลางวันอยู่แล้ว (กลางวันในที่นี้หมายถึง ตั้งแต่เวลาเริ่มสว่างจนถึงมืดลง) คนโบราณเชื่อว่าตุ๊กแกคือ ร่างที่วิญญาณของปู่ย่าตายายที่ตายไป แล้วมาอาศัยอยู่ คอยดูแลคุ้มครองเพื่อให้สัญญาณบอกเหตุแก่ลูกหลาน และ จะไม่เคยเห็นตุ๊กแกทำร้ายใครเลย

>นกแซกเกาะหลังคาบ้าน เกิดลางร้าย
นกแซกเป็นนกที่ถือว่า ให้ความอัปมงคลเป็นอย่างยิ่ง ไม่แต่เฉพาะ คนไทยเท่านั้นที่ถือในเรื่องนี้ฝรั่งเองก็ถือเคล็ดนี้เช่นกัน ก็เพราะโดยธรรมชาติ ของนกแซกมักจะไม่มาปะปนอยู่ตามที่อยู่อาศัยของคนให้เห็นนัก หากเมื่อใดมีนกแซกมาเกาะที่หลังคาบ้านใดแล้ว ก็มักจะมีอะไรไม่ดี แก่บ้านนั้น เช่น คนป่วยเอยคนเจ็บอยู่ก็อาจเสียชีวิตก็ได้ จึงมักจะมีคนนิยมแก้ เคล็ดให้ร้ายกลายเป็นดี ด้วยการนำเอาดอกไม้ ธูปเทียน สุรา บอกเล่าก็เพียง พอแล้ว คนโบราณบางท่านที่เคร่งมากๆ ก็อาจเพิ่มด้วย ข้าวสาร ข้าวตอก ผ้าแดง ผ้าขาวและเงินทอง

>เมื่อตัวเงินตัวทองคลานเข้าบ้าน
บ้านใดที่มีต้นไม้มากๆนั้น จะมีที่ที่ตัวเงินตัวทองมักจะปรากฎให้เห็น ตามที่ดังกล่าว มักจะไม่คลานในที่โล่งแจ้ง และก็หาแหล่งที่มาไม่พบอีกด้วยว่ามา จากที่ใด เพราะในหมู่บ้านกลางเมืองก็ยังมีปรากฎให้เห็นบ้าง ลักษณะตัวเงินตัวทอง บางคนว่าคล้ายจระเข้ แต่มีหางยาวมาก มี ขนาดตั้งแต่ตัวเล็กๆ เท่าจิ้งเหลนจนไปถึงตัวโดมากๆเท่ากับลูกจระเข้เลยทีเดียว ปกติตัวเงินตัวทองนี้จะไม่ทำร้ายใคร แต่คนโบราณท่านว่าเป็นตัว อัปมงคลอยู่ดี จึงมีชื่อเรียกเสียเพราะแก้เคล็ด หากบ้านใดมีเข้ามาให้เห็น ท่านว่า
ให้พูดแต่สิ่งดีๆ ไม่ให้ไล่ บางท่านก็ให้หาดอกไม้ธูปเทียนจุดบอกเล่า ให้กลายเป็นการนำเอาสิ่งดีๆ เข้ามาในบ้าน

>เลขนั้นสำคัญฉะไหน
เลขต่างๆ ตั้งแต่ 1 - 10 หรือแม้กระทั่งเลขเกิน 10 ก็ตามมีความเชื่อ ไปต่างๆกัน บ้างก็เหมือนกันแล้วแต่ความถูกโฉลกของแต่ละบุคคล นั่นเป็นความ เชื่อ เช่น บางคนไม่ชอบเลข 13 เพราะถือเป็นเลขของความโชคร้ายของฝรั่ง ซึ่ง จะสังเกตว่าตามตึกใหญ่สูงๆ ภายในลิฟต์จะไม่มีชั้น 13 เนื่องจากคนก่อสร้างหรือ สถาปนิกเป็นฝรั่งจ้า เค้าว่ากันว่าทะเบียนเลขรถเนี้ยะ

>ตาเขม่น
ฮิต ฮิต ฮิต เรื่องตาเขม่นตามความเป็นจริงแล้ว เขม่นได้หลายส่วนของ ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นริมฝีปาก แขน ขา หรือแม้กระทั่งตา ดังนั้นการเขม่นตาจะแบ่งออก เป็น 3 ช่วงคือ หากเขม่นตาในช่วงเช้า - บ่าย คนโบราณกล่าวไว้ว่า หากเป็นข้างขวาจะมีโชคลาภ ได้รับข่าวดี เรียกว่า จะสมหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คอย และหากเขม่นที่ตาซ้ายท่านว่าจะมีเคราะห์ โชคร้ายผิดหวังเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแน่นอน เช่น มีการทะเลาะกัน เกิดขึ้น หรือจะต้องสูญเสียของรักบางอย่างไป ถ้าเขม่นตาไม่ว่าจะเป็นข้างซ้ายหรือข้างขวาในช่วงเวลาเย็นถือว่ามีโชคมีลาภ จะได้พบญาติสนิทมิตรรักเดินทางมาหา แต่ถ้าเป็นในช่วงกลางคืน การเขม่นตาขวาจะได้ดี จะมีเคราะห์มีเหตุร้ายเกิด ขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าหากเขม่นตาซ้ายจะมีโชคลาภจากเพื่อน จะสมหวังสิ่งที่รอคอย เรียกว่า ขวาร้าย-ซ้ายดี การเขม่นตานี้ เชื่อกันว่า เป็นลางบอกเหตุที่แม่นยำมาก ท่านให้ถือเวลาที่จะเกิด เหตุไม่ดีและร้ายภายใน 3 วันอย่างแน่นอน

ขอบคุณ : dserver.org
ที่มาทีมงาน TeeNee.Com

ไม่มีความคิดเห็น: